|
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำหรือฝายชะลอน้ำ
เป็นแนวทางหรือวิธีหนึ่งในการช่วยสร้างความชุ่มชื้นเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ต้นน้ำลำธาร
คืนความอุดมสมบูรณ์ และทำให้เกิดความหลากหลายด้านชีวภาพแก่สังคมของพืชและสัตว์
ตลอดจนนำความชุ่มชื้นมาสู่แผ่นดิน ฝายชะลอน้ำ คือสิ่งขวางกั้นทางเดินของน้ำ
ใช้กับลำห้วย ลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ
หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงทำให้เกิดความชุ่มชื้น พืช สัตว์
สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และ
กักเก็บ กรอง ตะกอนไม่ให้ไหลลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง
เป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
"...สำหรับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณสองข้างลำห้วย
จำเป็นต้องรักษาไว้ให้ดีเพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำ
และบริเวณที่น้ำซับก็ควรสร้างฝายขนาดเล็กกั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้นแม้จะมีจำนวนน้อยก็ตาม
สำหรับแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากจึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก..."
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2521 ณ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในส่วนของรูปแบบและลักษณะฝายชะลอน้ำ
ได้มีพระราชดำรัสว่า
"...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด
โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น
แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็กเป็นระยะๆ
เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วนโดยน้ำที่เก็บกักไว้จะซึมเข้าไปในดิน
ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้างต่อไปจะสามารถปลูกพันธ์ุไม้ป้องกันไฟ
พันธ์ุไม้โตเร็วและพันธ์ุไม้ไม่ทิ้งใบเพื่อฟื้นฟูต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ..."
ทรงแยกประเภทของฝายชะลอน้ำเป็น
2 ประเภท ดังพระราชดำรัสคือ
"...ฝายชะลอน้ำมี 2 อย่าง
ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้นรักษาความชุ่มชื้นอีกอย่างสำหรับป้องกันมิให้ทรายลงในอ่างใหญ่..."
"...ควรสร้างฝายในต้นน้ำลำธารตามร่องน้ำเพื่อช่วยชะลอกระแสน้ำและเก็บกักน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้กับบริเวณต้นน้ำ..."
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2532 ณ ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง
จังหวัดเชียงใหม่
ฝายชะลอน้ำ
จัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นมาเพื่อปิดกั้นทางน้ำที่อาจเป็นร่องน้ำกัดเซาะลำห้วยลำธารขนาดเล็ก
บริเวณป่าต้นน้ำของลุ่มน้ำต่างๆ
โดยทำหน้าที่ควบคุมอัตราเร็วการไหลของน้ำให้ช้าลงในช่วงฤดูฝน ช่วยให้การกัดเซาะ
ชะล้างและพังทลายของดินสองฝั่งสายน้ำลดลง
ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในฤดูแล้งกักเก็บตะกอนดินไม่ให้พัดพาสู่การตื้นเขินของแหล่งน้ำชั้นล่าง
นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมการเก็บกักอินทรียวัตถุไว้ในแหล่งน้ำให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น
รวมทั้งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดินของป่าต้นน้ำที่ทุกสายน้ำไหลผ่าน
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของโครงการฝายชะลอน้ำ
2. เพื่อศึกษาประโยชน์ของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
3. เพื่อศึกษาประเภทฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
4. เพื่อศึกษาการเลือกตำแหน่งที่ตั้งฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
5. เพื่อศึกษาการกำหนดรูปแบบฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
6. เพื่อศึกษาการก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริการก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
7. เพื่อศึกษาการซ่อมแซม ปรับปรุง บำรุงรักษาฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
8.
เพื่อศึกษาการประยุกต์รูปแบบของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
9. เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของฝายชะลอน้ำ
ขอบเขตของการศึกษา
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ“โครงการฝายชะลอน้ำ” ประกอบด้วย
1. ประวัติความเป็นมาของโครงการฝายชะลอน้ำ
2. ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
3. ประเภทฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
4. การเลือกตำแหน่งที่ตั้งฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
5. การกำหนดรูปแบบฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
6. การก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริการก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
7. การซ่อมแซม ปรับปรุง
บำรุงรักษาฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
8. การประยุกต์รูปแบบของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
9. ผลลัพธ์ของฝายชะลอน้ำ
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาคือ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 157 วัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
“โครงการฝายชะลออน้ำ”
ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิต
2. ได้ข้อมูลที่เกิดความรู้จากการศึกษาไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ
3. เป็นแนวทางในการถ่ายทอดเรื่องราวพระราชกรณียกิจด้าน
โครงการฝายชะลอน้ำ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
“โครงการฝายชะลอน้ำ” ผู้ศึกษาได้สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะดังนี้
ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำหลักการ ทฤษฎี
และแนวคิดที่สำคัญมาใช้ในการดำเนินการวิจัยดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาของโครงการฝายชะลอน้ำ
2. ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
3. ประเภทฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
4. การเลือกตำแหน่งที่ตั้งฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
5. การกำหนดรูปแบบฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
6. การก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริการก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
7. การซ่อมแซม ปรับปรุง
บำรุงรักษาฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
8. การประยุกต์รูปแบบของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
9. ผลลัพธ์ของฝายชะลอน้ำ
1.
ประวัติความเป็นมาของโครงการฝายชะลอน้ำ
ฝายชะลอน้ำหรือฝายแม้ว
เป็นชื่อเรียก โครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ วิศวกรรม แบบพื้นบ้าน
ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู
โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร
หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้
เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้
ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการทดน้ำ
ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง
โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่ โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่
และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่นๆต่อมา
ฝายชะลอน้ำสร้างขวางทางไหลของน้ำบนลำธารขนาดเล็กไว้
เพื่อชะลอการไหล ลดความรุนแรงของกระแสน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของตลิ่ง เมื่อน้ำไหลช้าลง ก็มีน้ำอยู่ในลำห้วยนานขึ้น โดยเฉพาะในหน้าแล้งช่วยดักตะกอนที่ไหลมากับน้ำ
ลดการตื้นเขินที่ปลายน้ำ ทำให้น้ำใสมีคุณภาพดีขึ้นช่วยให้ดินชุ่มชื้น
ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ
ได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต คืนพืชแก่เนินเขา/ภูเขาหัวโล้น ดินชื้น ป่าก็ชื้น กลายเป็นแนวกันไฟป่า
ลดความรุนแรงของไฟได้
เพื่อรักษาความชุ่มชื่นของผืนป่าและกักเก็บน้ำ
ทางโครงการฯ ได้จัดทำฝายชะลอน้ำ ในต้นน้ำลำธาร 2 สาย
และเพื่อสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง สำหรับ โครงการ ฝายชะลอน้ำ ที่ทางเราได้จัดทำ
ขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์ และ วิธีการก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์
ในระยะยาว ดังนี้
1. ฝายที่เราสร้างขึ้นมา
เป็นฝายแบบไม่ถาวร ให้วัสดุจากธรรมชาติ เป็นหลัก สำหรับชะลอน้ำ ในหน้าแล้งเท่านั้น
ไม่ได้สร้างเพื่อกักเก็บน้ำ การไหลของน้ำ ที่หน้าฝาย ยังมีน้ำไหลอยู่ ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะซึมผ่านฝาย หรือ น้ำล้นข้ามฝาย
2. ระดับความสูงของตัวฝาย ไม่สูงมากนัก
ระดับความสูงประมาณ 40% ของความสูงของระดับน้ำสูงสุด
ในลำคลองหรือลำห้วย สายน้ำยังสามารถไหลล้นผ่านฝายได้ ตลอดเวลา
เพื่อยังรักษาระบบนิเวศน์ หน้าฝายไว้
3. ตัวฝายควรมีระดับความลาดชัน
ประมาณ 20 - 45 องศา ทั้งด้านหน้า และ
ด้านหลัง ไม่ควรสร้างฝาย ที่มีหน้าตัด 90 องศา
4. การก่อสร้างจะสร้างเป็นช่วงๆ แบบ
ขั้นบันได เป็นช่วงๆ ระยะขึ้นอยู่กับพื้นที่ ประมาณ 50 - 200 เมตร 4 งบประมาณการก่อสร้างเราแทบจะไม่มี เพียงช่วยกันขนหิน
ที่ระเกะ ระกะ อยู่ตามลำคลอง มาจัดเรียงใหม่ เท่านั้น เป็นการออกกำลังกายไปในตัว หากไม่มีหิน
เราก็จะใช้กระสอบทราย
5. หากหน้าน้ำ มีน้ำมา
ฝายนี้ก็จะพังทลาย ลง (ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำป่า ลงได้) หินที่ก่อเรียงตัวไว้
ก็จะพัง และ ไหลลงมาสู่ตัวฝาย ด้านล่าง ต่อไป
6. พอหมดหน้าน้ำป่า
น้ำเกือบจะใกล้แห้ง เราก็หาเวลามาออกกำลังกาย มายกก้อนหินกลับไปเรียง
เป็นฝายชะลอน้ำ ตามเดิม (ส่วนใหญ่แล้ว จะยังหลงเหลือ โครงสร้างเดิมอยู่บ้าง)
ใช้เวลาก่อสร้าง ประมาณ 1-2 ชม.
ต่อฝายเท่านั้น
7. ควรคำนึงถึง สัตว์น้ำ
ที่อาศัยในลำคลองด้วยว่า สามารถเดินทางไปยังต้นน้ำได้หรือไม่ เพราะเราตั้งใจว่า
“ในน้ำต้องมีปลา ในป่าต้องมีน้ำ”
ฝายทดน้ำ
คือ สิ่งก่อสร้างที่สร้างปิดขวางทางน้ำไหล
เพื่อกักเก็บทดน้ำที่ไหลมาให้มีระดับสูงขึ้น
จนสามารถผันน้ำเข้าไปตามคลองหรือคูส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกบริเวณสองฝั่งลำน้ำได้สะดวก
น้ำที่ไหลมาตามลำน้ำไม่สามารถไหลผ่านตัวฝายทดน้ำได้เนื่องจากทำจากวัสดุทึบน้ำ
ส่วนน้ำที่เหลือจะไหลล้นข้ามสันฝายลงไปในลำน้ำเดิม
ฝายจะต้องมีความยาวมากพอที่จะให้น้ำไหลมาในช่วงหน้าฝนไหลข้ามฝายไปได้
โดยไม่ทำให้เกิดน้ำท่วมตลิ่งสองฝั่งด้านเหนือน้ำ
ภาพที่ 1 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
ฝายชะลอน้ำ
คือสิ่งก่อสร้างที่สร้างปิดขวางทางน้ำไหล เพื่อทดกรองน้ำที่ไหลมาให้มีระดับสูงขึ้น
เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่
น้ำที่ไหลมาตามลำน้ำสามารถไหลผ่านตัวฝายทดน้ำได้เนื่องจากทำจากวัสดุไม่ทึบน้ำ
ช่วยดักกรองตะกอนที่ไหลมากับน้ำ น้ำที่ไหลผ่านจะไหลลงไปในลำน้ำเดิม
ภาพที่ 2 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
ฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
คือ ฝายชะลอน้ำประเภทหนึ่ง ก่อสร้างโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ต้นไม้
กิ่งไม้ ดิน ก้อนหิน ฯลฯ สร้างเพื่อกั้นชะลอน้ำในลำห้วย หรือทางน้ำเล็กๆ
เพื่อให้น้ำไหลช้าลง ช่วยดักตะกอนที่ไหลมากับน้ำลดการตื้นเขินที่ปลายน้ำ
ทำให้น้ำใสมีคุณภาพดีขึ้น สามารถสร้างความชุ่มชื้นให้ดินเพิ่มความอุดมสมบูรณ์
ความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่าและสัตว์น้ำ ได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต
เมื่อดินมีความชื้น ป่าก็ชุ่มชื้น กลายเป็นแนวกันไฟป่าได้ด้วย มีการก่อสร้างที่เรียบง่าย
ใช้เวลาน้อย ใช้งบประมาณที่ประหยัด
และหากมีการกักเก็บน้ำได้มากจะสามารถยกระดับน้ำไหลเข้าสู่พื้นที่การเพาะปลูกได้
2.
ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
เกิดประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ดังนี้
1. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปริมาณน้ำฝนในปัจจุบันมีปริมาณลดลง
และมีแนวโน้มลดลงจนทำให้เกิดสภาวการณ์ขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคของมวลมนุษย์
การที่ปริมาณน้ำฝนลดลงเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปริมาณไอน้ำจากการคายระเหยบนผืนแผ่นดินลดลง
ป่าไม้ถูกทำลายลงเป็นจำนวนมาก
ซึ่งผืนป่าเป็นแหล่งใหญ่ในการเกิดคายน้ำเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
ปริมาณไอน้ำลดลงปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นก็มีปริมาณลดลงตามด้วย
ฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริสามารถชะลอให้น้ำฝนตามธรรมชาติที่ตกลงมาอยู่บนผืนแผ่นดินยาวนานมากขึ้น
การทำฝายชะลอการไหลของน้ำจะเป็นส่วนช่วยสร้างความชุ่มชื้นในดินได้มากขึ้นสร้างความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี
ทำหน้าที่คืนความชุ่มชื้นเข้าสู่ระบบน้ำธรรมชาติ ช่วยให้ปริมาณน้ำธรรมชาติมากขึ้น
2. ด้านการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำแบบธรรมชาติ
ลักษณะส่วนใหญ่ลุ่มน้ำตามธรรมชาติเป็นพื้นที่ภูเขาและมีร่องน้ำ
ร่องห้วย ตั้งแต่ร่องน้ำขนาดเล็กๆ ที่อยู่บนพื้นที่สูง ร่องน้ำขนาดเล็กๆ
นี้จะมีน้ำไหลน้อยเมื่อไหลมารวมกันหลายร่องน้ำก็จะมีขนาดที่ใหญ่เพิ่มมากขึ้น
และเมื่อมีการไหลมารวมกันหลายๆสายมากขึ้น ปริมาณน้ำก็จะมีมากขึ้น ขนาดร่องน้ำ
ร่องห้วยก็จะมีขนาดใหญ่มากขึ้นฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
จะทำหน้าที่ชะลอการไหลของน้ำจากแหล่งต้นน้ำลำธาร มิให้ไหลหลากอย่างรวดเร็ว
และทำหน้าที่ในการดักตะกอนหน้าดินมิให้ไหลปนไปกับกระแสน้ำจนทำให้น้ำมีความขุ่นข้น
และไปทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่ด้านล่างต้องตื้นเขิน
ถือเป็นการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำแบบธรรมชาติ
3. ด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำสูงสุด
น้ำมีความสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและพืช
ทั้งการบริโภค อุปโภค การใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก การอุตสาหกรรม
และนับวันมนุษย์ยิ่งมีความต้องการน้ำมากขึ้นมนุษย์มีวิวัฒนาการในการเรียนรู้เพื่อจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีตฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
เป็นที่กักเก็บน้ำขนาดเล็ก ในลักษณะตุ่มน้ำเล็กๆ กระจายทั่วพื้นที่
เพื่อกักเก็บน้ำเพื่อประโยชน์ทั้งการสร้างความชุ่มชื้น
เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาระบบนิเวศน์ การเกษตร การใช้สอยอุปโภค บริโภค
สร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่า สิ่งมีชีวิต ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริว่า
"...ให้ดำเนินกาสำรวจหาทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ลักษณะของฝายดังกล่าวจำเป็นต้องออกแบบใหม่
เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธ์ุที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้..."
เป็นแนวคิดในการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ด้านการป้องกันภัยจากธรรมชาติ
มนุษย์ได้เผชิญกับภัยธรรมชาติอันเกิดขึ้นจากความรุนแรงของการไหลบ่าของน้ำส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน
และพื้นที่ประกอบการเพาะปลูก เช่น
ความรุนแรงของการไหลของน้ำทำให้บ้านเรือนสิ่งปลูกสร้างได้รับความเสียหาย พังทลาย
พื้นที่การเพาะปลูกเกิดการทับถมจากดิน
ตะกอนที่ไหลมากับน้ำทำให้พื้นที่ทำกินขาดประสิทธิภาพ การจัดทำฝายต้นน้ำ
เพื่อการชะลอการไหลน้ำไว้เป็นระยะๆ จะช่วยทำให้น้ำไหลช้าลง
ทำให้ลดความรวดเร็วและความรุนแรงในการไหลของน้ำ
เป็นการลดและป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินจากการไหลกระแทก
เนื่องจากความแรงจากการไหลของน้ำ นอกจากนี้ทำให้โอกาสการกัดเซาะดินลดน้อยลง
เป็นการลดการสูญเสียดินให้ไหลไปทับถมแหล่งน้ำให้ตื้นเขิน เช่น การตื้นเขินในลำห้วย
การตื้นเขินของอ่างเก็บน้ำและเป็นตะกอนหินดินลงไปทับถมพื้นที่เกษตรกรรม
จนเกิดเป็นความเสียหายต่อแหล่งพื้นที่ทำกิน ในฤดูแล้งการเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดิน
ป่าก็จะชุ่มชื้นเกิดเป็นร่องน้ำลำธาร กลายเป็นแนวกันไฟป่าได้ด้วย
5. ด้านระบบนิเวศน์
และเศรษฐกิจครัวเรือน
ฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้เกิดขึ้น สภาพป่าต้นไม้
พืชพรรณที่มีอยู่ในบริเวณนั้นจะได้รับการฟื้นฟูพัฒนาสภาพป่าต้นน้ำ
ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สามารถเก็บกักซับน้ำเป็นแหล่งเพิ่มพูนความหลากหลายในระบบนิเวศน์ทำให้สภาพแวดล้อมของชุมชนมีความชุ่มชื้นยิ่งขึ้นเป็นแหล่งเก็บกักน้ำเสมือนเป็นแอ่งเก็บน้ำขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ต้นน้ำ
อันเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในการใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภค
เป็นการป้องกันความแห้งแล้งสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์
และความหลากหลายของระบบนิเวศน์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดแหล่งอาหารตามธรรมชาติเพื่อการเก็บหาบริโภคและพึ่งพิงป่าได้
ทำให้ชุมชนมีแหล่งอาหารแหล่งเสริมสร้างอาชีพจากการอนุรักษ์ป่า เช่น
การเก็บหาผลิตผลจากป่า เห็ด หน่อไม้ เป็นการเสริมสร้างอาชีพเพิ่มพูนรายได้
ชุมชนเกิดความรักสามัคคี มีความสุขใจ
มีส่วนร่วมในการรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
เกิดระบบการบริหารจัดการป่าชุมชนให้มีความเข้มแข็งเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอาหาร
แหล่งสมุนไพรของคนในชุมชนและคนนอกชุมชนเกิดเครือข่ายการเรียนรู้
และขยายผลการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำด้วยฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
เรียนรู้การใช้ประโยชน์แบบพึ่งพิงป่าได้อย่างเกื้อกูล รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน
เป็นเส้นทางเดินธรรมชาติแก่ผู้มาศึกษาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อการปลูกสร้างจิตสำนึก
3.
ประเภทฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่
1 เป็นฝายชะลอน้ำฯ ชั่วคราว
ที่สร้างปิดกั้นบริเวณร่องลำห้วยขนาดเล็กบริเวณต้นน้ำ โดยใช้วัสดุธรรมชาติหาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นส่วนหลัก
ได้แก่กิ่งไม้ ต้นไม้ ทราย ดิน หิน และกรวด เป็นต้น สร้างสำหรับชะลอน้ำ
และเพิ่มความชุ่มชื้นเท่านั้น
สามารถกักเก็บน้ำได้แต่มีการซึมของน้ำผ่านตัวฝายอยู่ตลอดเวลา
หรือน้ำอาจล้นข้ามฝายลงสู่ลำห้วยสาขาอยู่บริเวณด้านล่าง เมื่อถึงฤดูน้ำหลากอาจเกิดความเสียหายทั้งหมดเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์
และการวางไข่ของสัตว์น้ำ ฝายชะลอน้ำฯ ชั่วคราวมีหลายรูปแบบ
ก่อสร้างเรียบง่ายตามภูมิปัญญาดั้งเดิมแต่ละท้องถิ่นและสภาพความเหมาะสมของพื้นที่โดยชุมชนเองมีอายุการใช้งานประมาณ
1 - 2 ปี
ประเภทที่ 2 เป็นฝายชะลอน้ำฯ
กึ่งถาวร ที่สร้างปิดกั้นบริเวณลำห้วยสาขาบริเวณต้นน้ำ สร้างจากวัสดุจากธรรมชาติ
ร่วมกับวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ตะแกรงลวดเหล็กปูนซีเมนต์ หิน ทราย ไม้แปรรูป เป็นต้น
ก่อสร้างสำหรับชะลอ กัก เก็บน้ำ แต่ก็มีการซึมของน้ำผ่านตัวฝาย หรือซึมลอดใต้ตัวฝายได้
และน้ำสามารถล้นข้ามฝายลงสู่ลำห้วยที่อยู่บริเวณด้านล่าง
อาจมีช่องหรือท่อสำหรับการระบายตะกอนที่ตกทับถมบริเวณเหนือฝาย
เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ ฝายชะลอน้ำฯ กึ่งถาวรมีหลายรูปแบบ
ตามแต่ละท้องถิ่นหรือภูมิภาคและสภาพความเหมาะสมของพื้นที่ มีอายุการใช้งาน 2
- 5 ปี
ประเภทที่
3 เป็นฝายชะลอน้ำฯ ถาวร ที่สร้างปิดกั้นลำน้ำบริเวณลำห้วยหลักสร้างจากวัสดุในการก่อสร้างเป็นหลัก
ได้แก่ คอนกรีต ลวดเหล็ก เหล็กเสริม หินใหญ่กรวดทราย เป็นต้น
มีการออกแบบตามหลักวิชาการ มีความมั่นคง แข็งแรง สามารถต้านทานแรงดันของน้ำ
ทนทานต่อการกัดเซาะของน้ำได้ และต้องคำนึงถึงผลกระทบกับสภาพแวดล้อม เช่น
น้ำล้นตลิ่ง การกัดเซาะท้ายน้ำ และป้องกันผลระบบนิเวศน์อย่างถาวร ฝายชะลอน้ำฯถาวร
จึงมีอายุการใช้งานยืนยาว
ถ้าได้รับการซ่อมปรับปรุงบำรุงรักษาอยู่เสมอจะใช้งานได้ตลอดไป
อายุการใช้งานมากกว่า 5 - 10 ปีขึ้นไป
ภาพที่ 3 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
4.
การเลือกตำแหน่งที่ตั้งฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
การเลือกตำแหน่งที่ตั้ง
ฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ มีแนวทางและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพอสังเขป
ดังนี้
1. ตำแหน่งที่ตั้งฝาย
ควรเป็นร่องลำห้วย ลำห้วยสาขา หรือลำห้วยหลัก
ที่มีพื้นที่เหนือน้ำที่สามารถกักเก็บน้ำได้พอสมควร
2. สภาพตลิ่ง ณ ตำแหน่งที่ตั้งฝาย
ด้านเหนือน้ำและด้านท้ายน้ำจะต้องมีความสูงพอที่จะไม่ทำให้น้ำล้นข้าม
หรือตลิ่งต้องมีความแข็งแรงเพียงพอต่อการกัดเซาะ
3. ในร่องลำห้วยที่มีความลาดชันสูง
ต้องพิจารณาสร้างฝายชะลอน้ำฯ ให้มีจำนวนฝายมากเพียงพอที่จะสามารถกัก กรองน้ำ
ดักตะกอนที่จะไหลลงสู่ลำห้วยสาขาและลำห้วยหลักอย่างเพียงพอ
4. สำรวจสภาพพื้นที่
วัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้าง สภาพลำน้ำ เพื่อเลือกประเภทที่เหมาะสมในการก่อสร้าง
เช่น พื้นที่ต้นน้ำในร่องลำห้วยควรเป็นฝายชั่วคราวเป็นต้น
5. ควรมีข้อมูล ระดับน้ำ
ปริมาณฝนในแต่ละฤดูกาล
เพื่อต้องพิจารณารูปแบบในการก่อสร้างให้มีความแข็งแรงเพียงพอในการต้านทานแรงดันของน้ำในฤดูฝน
6. ในกรณีที่เป็นฝายประเภทกึ่งถาวร
หรือฝายถาวร ควรเลือกทำเลที่ตั้งที่สามารถจัดสร้างระบบส่งน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้ป่า
และพื้นที่การเพาะปลูกได้ด้วย
7. ควรเลือกตำแหน่งที่ตั้งที่มีความเหมาะสมควบคู่กับประโยชน์ที่จะได้รับสูงสุด
ตารางที่
1
ตำแหน่งที่ตั้งฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่เหมาะสม
ฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
|
ประเภทที่ 1
ฝายชะลอน้ำชั่วคราว
|
ประเภทที่ 2
ฝายชะลอน้ำกึ่งถาวร
|
ประเภทที่ 3
ฝายชะลอน้ำถาวร
|
สภาพภูมิประเทศ
เป็นร่องน้ำ หรือลำห้วยที่ค่อนข้างตรง
|
พื้นที่สูงชันต้นน้ำ
ร่องลำห้วย
หรือที่เหมาะสม
|
พื้นที่ลาดชันบริเวณ
ลำห้วยสาขา
หรือที่เหมาะสม
|
พื้นที่ลาดชันบริเวณ
ลำห้วยหลัก
หรือที่เหมาะสม
|
ความลาดชันท้อง
ลำห้วย
(ตามความยาว) *
|
พื้นที่ลาดชันสูง
ความลาดเอียงไม่เกิน
1 ต่อ 20
|
พื้นที่ลาดชันปานกลาง
ความลาดเอียงไม่เกิน
1 ต่อ 40
|
พื้นที่ลาดชันต่ำ
ความลาดเอียงมากกว่า
1 ต่อ 40
|
ความลึกลำห้วย(เมตร)
|
ไม่ควรเกิน
1.00 เมตร
|
ไม่ควรเกิน
1.20 เมตร
|
ไม่ควรเกิน
1.50 เมตร
|
ความสูงของฝาย(เมตร)
|
ไม่ควรเกิน
0.5 เมตร
|
ไม่ควรเกิน
0.6 เมตร
|
ไม่ควรเกิน
0.77 เมตร
|
ความกว้างลำห้วย(เมตร)
|
ไม่ควรเกิน
3.00 เมตร
|
ไม่ควรเกิน
5.0 เมตร
|
ไม่ควรเกิน
10.00 เมตร
|
ปริมาณน้ำไหลผ่าน
สูงสุดไม่ควรเกิน
(ลบ.ม.ต่อ วินาที)*
|
0.50
|
0.50
|
1.50
|
ประเภทของดิน
สภาพชั้นดิน
ท้องลำน้ำ
|
ดินเหนียว/กรวด/หิน
|
ดินเหนียว/กรวด/ทราย
|
ดินเหนียว/กรวด/ทราย
|
กัดเซาะตลิ่ง
|
น้อย
|
น้อย
|
น้อย
|
*
การคิดค่าความลาดชันของพื้นที่ และปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดในลำน้ำดูภาคผนวก
หรืออาจขอความร่วมมือจากนายช่างของโครงการชลประทานจังหวัด (ในพื้นที่)
ภาพที่ 4 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
(พื้นที่มีความชันมาก
ควรมีฝายชะลอน้ำมากขึ้น)
5. การกำหนดรูปแบบฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
การกำหนดรูปแบบฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและอายุการใช้งาน
ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริประเภทที่
1 ประเภทชั่วคราว ประกอบด้วย
1. ฝายไม้
เป็นฝายชั่วคราวขนาดเล็กที่ทำจากไม้เป็นหลัก
ส่วนมากจะเป็นไม้ไผ่หรือไม้ที่มีในพื้นที่ ฝายไม้ที่นิยมสร้างมี 2 รูปแบบ ดังนี้
1.1 ฝายไม้แนวเดียว เป็นฝายขนาดเล็กชั่วคราว
สร้างกั้นร่องห้วยที่มีความลึกไม่มากนัก ความลาดชันค่อนข้างสูง
สร้างโดยการปักไม้เสาเป็นระยะๆ 0.30ถึง 0.50 เมตร
แล้วนำไม้มาสอดเรียงในแนวนอนแล้วยึดติดกัน
ดังแสดงในรูปแล้วใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมาถมด้านหน้าตลอดแนวซึ่งอาจเป็นดินหรือหินก็ได้เพื่อให้เกิดความมั่นคง
ภาพที่ 5 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
ภาพที่ 6 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
1.2 ฝายไม้คอกหมู
เป็นฝายลักษณะเดียวกันกับฝายไม้แนวเดียว
แต่จะทำการปักไม้เสาเป็นสองแนวห่างกันเท่ากับความสูงของฝาย
พร้อมมีการยึดแถวหน้ากับแถวหลังเข้าด้วยกัน
ด้วยไม้ในแนวนอนที่ฝังปลายเข้าไปในตลิ่งทั้งสองด้านดังแสดงในรูป แล้วนำวัสดุใส่ระหว่างกลางจะเป็น
หิน ดิน หรือวัสดุอื่นๆ ในพื้นที่ฝายคอกหมูชั่วคราวอาจทำการตอกเสายึดเป็นแนวเอียงกันเท่ากับความสูงของฝายก็ได้
ภาพที่ 7 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
ภาพที่ 8 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
2. ฝายหินเรียง สร้างโดยนำเอา หิน
ในห้วยมาเรียงกันให้ได้ระดับเพื่อเป็นแนวสันฝาย โดยเลือกหินที่มีขนาด 0.20 ม.
ขึ้นไป เป็นหลักเพื่อสามารถที่จะรับแรงดันน้ำได้ โดยเรียงหินเป็นรูปสามเหลี่ยมโดยประมาณ
ให้ฐานกว้างกว่าความสูง อย่างน้อย3 เท่า ถ้าจะให้เก็บลดการรั่วซึมควรหาวัสดุ
พวกใบไม้
กิ่งไม้หรือดินมาอุดช่องว่างระหว่างหินและควรกระทุ้งหินให้มีความแน่นขึ้นฝาย
ภาพที่ 9 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
ภาพที่ 10 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
3. ฝายดิน
เป็นฝายชั่วคราวขนาดเล็กที่ทำจากดิน
ส่วนมากจะเป็นประเภทดินเหนียวฝายดินชั่วคราวที่นิยมสร้างมี 2
รูปแบบ ดังนี้
3.1 ฝายดินเหนียว เป็นการนำดินเหนียวมาถม
กระทุ้งให้แน่นแล้วเรียงตามแนวขวางลำน้ำ แล้วนำวัสดุมาปิดผิวหน้า เช่น หิน ไม้
หรือวัสดุอื่น ที่หาได้ในพื้นที่ดังแสดงในรูป
ภาพที่ 11 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
ภาพที่ 12 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
3.2 ฝายเรียงด้วยกระสอบบรรจุดิน/ทราย
นำมาเรียงกันเพื่อกั้นในลำธาร โดย
เรียงกระสอบบรรจุดิน/ทรายให้ได้ความลาดด้านเหนือน้ำประมาณ
1:2 ดังแสดงในรูป
ภาพที่ 13 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
ภาพที่ 14 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
ฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริประเภทที่
2 ประเภทกึ่งถาวร เป็นฝายชะลอน้ำฯ
ที่ทำจากวัสดุจากธรรมชาติร่วมกับวัสดุการก่อสร้าง
แบ่งตามวัสดุและการก่อสร้างออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. ฝายไม้แกนหินยาแนวหรือแกนดินเหนียว
เป็นฝายกึ่งถาวรสร้างกั้นลำน้ำสาขาที่มีความลึกไม่มากนัก ความลาดชันปานกลาง
สร้างโดยการปักไม้เสาเป็นแนวปิดกั้นลำน้ำจำนวน 2 แถว
หรือมากกว่า แล้วนำไม้มาสอดเรียงในแนวนอนแล้วยึดติดกันดังแสดงในรูป
ใช้หินเรียงยาแนวหรือดินเหนียวอาจทำลักษณะที่มีสันหลายระดับหรือเป็นแบบขั้นบันไดใส่ในช่องระหว่างแนวที่ปักไม้
เพื่อทำให้เกิดความมั่นคง
ภาพที่ 15 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
ภาพที่ 16 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
2. ฝายกล่องลวดตาข่ายบรรจุหิน (Gabion)
เป็นฝายกึ่งถาวรสร้างกั้นลำน้ำสาขาที่มีความลึกไม่มากนัก
ความลาดชันน้อยถึงปานกลาง
สร้างโดยการเรียงกล่องลวดตาข่ายที่บรรจุด้วยหินที่มีขนาดเท่าๆ กัน รูปกล่องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อสะดวกในการเรียงต่อเนื่องและเป็นชั้นๆ
ตามความสูงของฝายฯ ที่ต้องการ ดังแสดงในรูป
ภาพที่ 17 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
ภาพที่ 18 http://www.ppb.moi.go.th/midev01
3. ฝายหินก่อหรือหินทิ้ง
เป็นฝายกึ่งถาวรสร้างกั้นลำน้ำสาขาที่มีความลึกไม่มากนักความลาดชันปานกลาง
สร้างโดยการก่อหินปะกบแกนคอนกรีต หรือแกนไม้ใช้หินก่อหรือหินทิ้ง อาจทำลักษณะที่มีสันหลายระดับหรือแบบขั้นบันได
เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงดังแสดงในรูป
ภาพที่ 19 http://www.nakhonsithammarat.go.th
ภาพที่ 20 http://www.nakhonsithammarat.go.th
ฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริประเภทที่
3 ประเภทถาวร
เป็นฝายที่สร้างปิดกั้นลำน้ำบริเวณลำห้วยหลักสร้างจากวัสดุในการก่อสร้างเป็นหลัก
ได้แก่ คอนกรีต ลวดเหล็ก เหล็กเสริม หินใหญ่ กรวด ทราย เป็นต้น
มีการออกแบบตามหลักวิชาการ มีความมั่นคง แข็งแรง สามารถต้านทานแรงดันของน้ำ
ทนทานต่อการกัดเซาะของน้ำได้ พอแบ่งตามวัสดุและการก่อสร้างออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. ฝายหินเรียงยาแนวเป็นฝายถาวรสร้างกั้นลำน้ำที่มีความลึกค่อนข้างมากแต่มีความลาดชันของท้องลำน้ำน้อย
สร้างโดยการเรียงหินที่มีขนาดเท่าๆ
กันหรือคละกันโดยเรียงหินที่มีขนาดใหญ่อยู่ด้านล่างเพื่อเป็นฐานฝายเรียงหินให้ชิดเป็นแนวตามแนวราบ
และเรียงเป็นชั้นๆ ตามความสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
เพื่อสะดวกในการเรียงต่อเนื่องเป็นชั้นๆตามความสูงของฝายฯ ที่ต้องการ
และใช้ปูนซีเมนต์ยาแนวตรงร่องของรอยต่อทั้งในแนวราบและแนวความสูงหรือแบ่งเป็นช่องๆ
ก็ได้ ดังแสดงในรูป
ภาพที่ 21 http://www.nakhonsithammarat.go.th
ภาพที่ 22 http://www.nakhonsithammarat.go.th
2. ฝายคอนกรีต หรือฝายคอนกรีตล้วนสร้างโดยการเรียงหินขนาดใหญ่
แล้วเทคอนกรีตทับโดยไม่มีการเสริมเหล็กมีรูปตัดคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมูซึ่งมีด้านบน
หรือสันฝายแคบกว่าด้านล่างหรือฐานฝายสันฝายอาจทำเป็นหยักให้น้ำไหลผ่าน
โดยปกติด้านเหนือน้ำหน้าฝายจะตั้งชันเป็นแนวดิ่งกับพื้นฝายส่วนด้านท้ายน้ำจะมีความลาดหรือเป็นขั้น
เพื่อให้ฝายมีความมั่นคง
และลดความเร็วของน้ำไหลข้ามฝายไม่ไหลตกกระแทกพื้นฝายแรงเกินไปจนเกิดการกัดเซาะ
ภาพที่ 23 http://www.nakhonsithammarat.go.th
ภาพที่ 24 http://www.nakhonsithammarat.go.th
3. ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก
เป็นฝายที่มีการก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กจะมีความคงทนถาวรมากกว่าฝายคอนกรีตล้วน
รูปร่าง ขนาด
ต้องมีการคำนวณออกแบบตามหลักวิชาการมีการพิจารณารายละเอียดมากกว่าฝายประเภทอื่น
ฐานฝายมีลักษณะเป็นฐานคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งอยู่บนพื้นแข็งแรงตลอดความกว้างของลำน้ำตัวฝาย
มีขนาดที่เหมาะสมทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สันฝายมักทำเป็นช่องให้น้ำไหลผ่านสามารถปรับระดับน้ำโดยใช้แผ่นไม้กระดานเสียบปิดไว้กักน้ำเมื่อต้องการยกระดับน้ำให้สูงขึ้น
ภพที่ 25 http://www.nakhonsithammarat.go.th
ภาพที่ 26 http://www.nakhonsithammarat.go.th
6.
การก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริการก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
มีขั้นตอนพอสังเขป ดังนี้
1. การสำรวจสภาพภูมิประเทศ
หรือร่องลำน้ำที่เหมาะสมในการก่อสร้าง
- กำหนดตำแหน่ง พิกัด
ที่เหมาะสมในการก่อสร้าง
- วัดขนาดร่องลำน้ำ
ความลาดชันท้องลำน้ำ
- หาปริมาณน้ำไหลผ่าน ตลอดทั้งปี
ช่วงฤดูกาล
- ตรวจสภาพตลิ่งและท้องน้ำ มีการกัดเซาะ
2. กำหนดประเภทและเลือกรูปแบบ
สำหรับการก่อสร้างฝายชะลอน้ำฯ
- ชั่วคราว พื้นที่ลาดชันต้นน้ำ
ร่องลำห้วย
- กึ่งถาวร พื้นที่ลาดชันปานกลาง
ลำห้วยสาขา
- ถาวร พื้นที่ลาดชันน้อย
ลำห้วยหลัก
3. สเก็ตซ์รูปแบบ กำหนดขนาด สัดส่วน
และกำหนดวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อแนะนำในคู่มือ
ในกรณีที่เป็นฝายชะลอน้ำถาวรต้องมีการเขียนแบบและถอดแบบคำนวณหาปริมาณวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างโดยนายช่างหรือวิศวกร
4. วางผังตำแหน่ง และการก่อสร้างฝายชะลอน้ำฯ
- วางแนวร่องแกนฝาย
- ขุดร่องแกนให้มีความลึกถึงชั้นดินแน่น
5. ขั้นตอนการก่อสร้างฐานฝายและตัวฝาย
เป็นไปตามรูปแบบ ขนาด วัสดุ ตามที่กำหนดไว้
และต้องคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงให้มากพอที่ฝายจะสามารถต้านทานกระแสน้ำ และไม่เกิดผลกระทบกับระบบนิเวศน์ได้
ภาพที่ 27 http://www.nakhonsithammarat.go.th
7.
การซ่อมแซม ปรับปรุง
บำรุงรักษาฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
สร้างจากวัสดุจากธรรมชาติร่วมกับวัสดุก่อสร้าง
ตามประเภทและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
จะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกันไปขึ้นกับวัสดุที่ใช้ สภาพของลำน้ำ
ความรุนแรงของกระแสน้ำ รวมถึงชั้นดินบริเวณที่ตั้งของฝาย ซึ่งปัจจัยต่างๆ
อาจเป็นสาเหตุของการชำรุดของตัวฝายได้ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาจเสื่อมสลาย
ฉะนั้นควรมีการซ่อมแซม ปรับปรุง บำรุงรักษา
ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ก็จะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบำรุงรักษาฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ฤดูน้ำหลากต้องเฝ้าระวังเศษกิ่งไม้
ท่อนไม้ขนาดใหญ่ที่ไหลมากับน้ำปะทะตัวฝายอาจเป็นสาเหตุทำให้ฝายชำรุดเสียหายได้
2. ตรวจสอบตัวฝายฯ ทุกๆ
หลังฤดูน้ำหลาก หากมีความชำรุดเสียหาย ในกรณีที่เป็นฝายประเภทกึ่งถาวร หรือฝายถาวร
ต้องทำการซ่อมแซม ปรับปรุง โดยใช้วัสดุที่เหมาะสมให้คงสภาพเดิม
3. ตรวจสอบการตะกอนด้านหน้าฝายหากมีปริมาณตะกอนมาก
อาจขุดลอกออกบางส่วนเพื่อไม่ให้เกิดการตื้นเขิน
หรือเป็นสาเหตุทำให้กลายเป็นปัจจัยทำให้ตัวฝายชำรุดเสียหายได้
ในกรณีที่ฝายมีช่องหรือท่อระบายตะกอนให้ตรวจสอบว่ามีการอุดตันหรือไม่
4. ฝายชะลอน้ำฯ ที่พังเสียหายบ่อยๆ
อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบหรือประเภทเช่น เปลี่ยนรูปแบบจากฝายไม้แนวเดียวเปลี่ยนมาเป็นฝายคอกหมูชั่วคราว
เป็นต้น
5. ตรวจสอบสภาพแวดล้อมของฝายชะลอน้ำฯ
ประกอบด้วย
5.1 ตลิ่งตำแหน่งปีกฝายทั้งสองด้านว่ามีการกัดเซาะของน้ำเกิดการกัดเซาะพังทลายอาจเป็นสาเหตุให้ฝายพังเสียหาย
5.2 ตลิ่งของลำน้ำด้านเหนือน้ำทั้งสองด้านมีการพังทลายจากสาเหตุจากน้ำล้นข้ามเนื่องจากสันฝายอาจจะมีความสูงมากเกินไป
หรือมีเศษกิ่งไม้ใบไม้สะสมทับถมบนสันฝายมากเกินไป
5.3 ร่องน้ำด้านท้ายฝายมีการกัดเซาะของดินท้องน้ำเกิดเป็นหลุม เป็นบ่อ
หรือตลิ่งด้านท้ายน้ำ ที่เป็นผลกระทบการไหลของน้ำที่ผ่านจากตัวฝาย
หรือสภาพดินท้องน้ำ
6.
ในกรณีที่ฝายมีระบบส่งน้ำ
(ระบบท่อส่งน้ำ และหรือคูส่งน้ำ) เพื่อการอุปโภคบริโภค หรือเกษตรกรรม
ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพมีคุณภาพสะอาดไม่เน่าเสียเนื่องจากเศษใบไม้กิ่งไม้ทับถม
และต้องมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการใช้ในภารกิจต่างๆในแต่ละช่วงอย่างสมบูรณ์
7. สำหรับฝายชะลอน้ำฯ
ชั่วคราวที่มีการดูแลเป็นอย่างดีก็จะสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับป่าต้นน้ำ
ควรมีการปลูกต้นไม้เพิ่มเติมโดยรอบบริเวณที่สร้างฝายเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของป่าต้นน้ำลำธาร
และเป็นการรักษาสภาพน้ำที่จะไหลลงลำน้ำ หรือไหลลงอ่างเก็บน้ำด้านท้ายน้ำต่อไป
สำหรับขั้นตอน
วิธีการการซ่อมแซมฝายชะลอน้ำฯ โดยเฉพาะฝายชะลอน้ำฯ ประเภทถาวร เริ่มจากการสำรวจ
ประเมินเบื้องต้นของสภาพทั่วไปของฝาย ประกอบด้วย
1. จุดที่ตั้งฝาย
- ชื่อฝาย (ปีที่สร้าง) ประชาอาสา (2554) เป็นต้น
- ระบุลำน้ำ ร่องลำห้วย ลำห้วยสาขา ลำห้วยหลัก ลำน้ำ ฯลฯ
- ตำแหน่งที่ตั้ง พิกัดตำแหน่ง หมู่บ้าน หมู่ที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด
- เขตพื้นที่ อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนฯ ที่สาธารณะประโยชน์ อื่นๆ
2. ประเภทฝาย ชั่วคราว กึ่งถาวร ถาวร
3. รูปแบบฝาย ไม้ คอกหมู ดิน
หินเรียง หินก่อ กล่องลวดตาข่าย คอนกรีตคอนกรีตเสริมเหล็ก หรืออื่นๆ
4. ตัวฝาย ความสูง ความกว้าง
ความยาวของตัวฝาย ระดับ รทก. อาคารประกอบฝาย เช่น ช่องระบายตะกอน คันดิน
กำแพงปีกฝาย กำแพงป้องกันตลิ่ง ระบบส่งน้ำ (ถ้ามี)
พร้อมรูปแบบหรือภาพสเก็ตซ์ที่มีมิติหรือขนาด
5. หน่วยงาน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ
6. สำรวจสภาพการชำรุด
- ตัวฝาย สันฝาย ปีกฝาย ฐานฝาย
- ตลิ่งด้านเหนือ และท้ายน้ำ หินทิ้ง หินเรียง
ดาดคอนกรีต ฯลฯ
- ท้องน้ำด้านเหนือ และท้ายน้ำ สภาพการตกตะกอนและการกัดเซาะ
- ระบบส่งน้ำ (ถ้ามี) ท่อส่งน้ำ
ทางน้ำเปิดพร้อมอาคารประกอบ
7. สาเหตุการชำรุดเสียหาย
-
อายุการใช้งาน
-
ภัยธรรมชาติ
-
อื่นๆ เช่น การทำลายโดยฝีมือมนุษย์ ฯลฯ
8. การเพิ่มประสิทธิภาพฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
วัตถุประสงค์หลักของการสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ต้นน้ำลำธาร
เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์
และทำให้เกิดความหลากหลายด้านชีวภาพแก่สังคมของพืชและสัตว์
ตลอดจนนำความชุ่มชื้นมาสู่แผ่นดิน
หากช่วงที่น้ำไหลแรงฝายสามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และ กัก เก็บ กรอง
ตะกอนไม่ให้ไหลลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่างปริมาณน้ำที่ฝายกักเก็บไว้ก็ยังสามารถนำน้ำไปสู่พื้นที่เพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตร
ทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์จากการสร้างฝายชะลอน้ำโดยเฉพาะฝายประเภทกึ่งถาวรและถาวร
สามารถสร้างระบบส่งน้ำเข้าพื้นที่ใกล้เคียงเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตรเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของฝายชะลอน้ำฯ
ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำเหนือฝาย
งบประมาณในการลงทุน ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้น้ำ ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ
และการเมือง เป็นต้น
การเพิ่มประสิทธิภาพของฝายชะลอน้ำฯ
หมายถึงการเพิ่มระบบส่งน้ำที่เชื่อมต่อกับตัวฝายโดยที่ระบบส่งน้ำเป็นการส่งน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลก
อาจเป็นคูส่งน้ำที่ขุดแยกออกมาจากแหล่งน้ำเหนือฝาย
เพื่อรับน้ำและส่งน้ำเข้าไปในเขตการเพาะปลูกต้องมีการวางแผน ออกแบบ
ก่อสร้างตามหลักวิชาการเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ที่ตามมา
ระบบส่งน้ำอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ระบบคูส่งน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
คือ คูดิน เป็นคูที่ขุดดิน หรือถมดินให้เป็นรูปคู คูดาด
เป็นคูที่มีการดาดผิวคลองเป็นเปลือกด้วยวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีตล้วน คอนกรีต เสริมเหล็ก
เพื่อไม่ให้น้ำรั่วออกจากคูส่งน้ำ คูส่งน้ำเป็นคูส่งน้ำขนาดเล็กหน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
ขนาดของปากคูกว้างไม่เกิน2.00 เมตร ก้นคูกว้างไม่เกิน 1.00 เมตร และความลึกไม่เกิน
1.00 เมตร ระดับท้องคูต้องอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำเหนือฝายเท่ากับความลึกของคูส่งน้ำ
ทั้งนี้ขนาดคูส่งน้ำจะขึ้นกับความสูงของระดับน้ำเหนือฝาย
การกำหนดความลาดด้านข้างของคูส่งน้ำต้องมีอัตราส่วน 1 : 1.5 เป็นอย่างน้อย
เพื่อป้องกันการพังทลายของดินด้านข้างคูแต่ถ้ามีการดาดคูด้วยคอนกรีตอาจทำให้มีความลาดด้านข้างเพิ่มมากขึ้นเป็น
1 : 1 ได้ความกว้างและความลึกของคูส่งน้ำอาจมีขนาดเล็กลงตามความยาวของคู
ความลาดตามความยาวของคูไม่ควรชันมาก ขึ้นกับลักษณะภูมิประเทศ
วางไปตามแนวเส้นชั้นระดับของพื้นที่ โดยมีความลาดเอียงเฉลี่ยประมาณ 1: 1,000
(ระยะทาง 1,000 เมตรจะมีความต่างระดับลง 1 เมตร)
เพื่อให้น้ำสามารถไหลได้สะดวกและมีความเร็วไม่สูงมากป้องกันการกัดเซาะพังทลายของดินข้างคู
ภาพที่ 28 http://www.nakhonsithammarat.go.th
2. ระบบท่อส่งน้ำ
ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการขุดเป็นคูส่งน้ำได้อาจพิจารณาใช้การส่งน้ำแบบระบบท่อส่งน้ำทดแทน
ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ท่อ พีวีซี โดยให้มีขนาด ความยาว
และทิศทางตามความต้องการของพื้นที่รับประโยชน์
ระบบท่อส่งน้ำมีหลักเกณฑ์แนวทางการพิจารณา ดังนี้
2.1 ฝายต้องมีปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้มากพอกับการส่งน้ำให้พื้นที่
โดยพิจารณาจากปริมาณน้ำที่ไหลผ่านฝาย พื้นที่กักเก็บ และความลึก
เปรียบเทียบกับปริมาณน้ำที่นำไปใช้ประโยชน์กับราษฎร ทั้งพื้นที่เพาะปลูก
และจำนวนครัวเรือน
2.2 ระดับของน้ำเหนือฝายต้องมีระดับสูงกว่าระดับของพื้นที่ส่งน้ำไม่น้อยกว่า
5เมตร
เพื่อให้น้ำมีแรงดันเพียงพอที่จะส่งผ่านระบบท่อส่งน้ำได้
2.3 การวางท่อส่งน้ำจะมีความลาดเอียงหรือไม่ก็ได้
ความยาวท่อส่งน้ำจะมีผลต่อแรงดันน้ำในท่อ ถ้าท่อยาวมากต้องมีความต่างระดับประมาณ 10 เมตรต่อความยาว 1 กิโลเมตร
2.4 การคำนวณหาความต้องการใช้น้ำสามารถหาได้จาก
ตาราง 2 และ ขนาดท่อส่งน้ำ ปริมาณน้ำที่ต้องการ (ลิตรต่อวัน)
ตารางที่ 2
ตารางแสดงความต้องการใช้น้ำต่อวัน
น้ำอุปโภค-บริโภค และการเกษตร
|
||
คน
|
100
|
ลิตร/คน/วัน
|
วัว ควาย
|
50
|
ลิตร/ตัว/วัน
|
หมู
|
20
|
ลิตร/ตัว/วัน
|
ไก่
|
0.5
|
ลิตร/ตัว/วัน
|
ปลูกผักหน้าแล้ง
|
7,000
|
ลิตร/ไร่/วัน
|
ปลูกข้าวหน้าแล้ง
|
13,000
|
ลิตร/ไร่/วัน
|
*หมายเหตุ ที่มาคู่มือปฏิบัติงานด้านจัดสรรน้ำ เล่มที่ 8 กรมชลประทาน
ตารางที่ 3 ขนาดท่อและปริมาณน้ำที่สามารถส่งต่อวัน
ตารางขนาดท่อและปริมาณน้ำ
|
|
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ (ม.)
|
ลิตรต่อวัน
|
0.10
|
656,640
|
0.15
|
1,909,440
|
0.20
|
4,104,000
|
0.25
|
7,344,000
|
0.30
|
11,854,080
|
0.35
|
17,720,640
|
0.40
|
25,168,320
|
ฝายชะลอน้ำฯ
ประเภทถาวร
อาจพิจารณาให้เพิ่มระดับสันฝายขึ้นเพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มมากขึ้น
หรืออาจจะทำสันฝายให้มีลักษณะเป็นช่องลดระดับเพื่อสามารถปรับระดับสัน
เพื่อการเพิ่ม/ลดการกักเก็บน้ำให้เหมาะสมในแต่ละฤดูกาล โดยใช้แผ่นไม้เสียบลงในร่องที่เตรียมไว้
ดังแสดงในรูป สำหรับโครงการก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงรักษา
และเพิ่มประสิทธิภาพของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณของโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท
มีขั้นตอนดำเนินการตามที่สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ
สืบสานแนวพระราชดำริ ตามแบบฟอร์มการเสนอโครงการด้านพัฒนาแหล่งน้ำและ 8 ขั้นตอน
การก่อสร้าง ซ่อมปรับปรุง บำรุงรักษา
และเพิ่มประสิทธิภาพฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ภาพที่ 29 http://www.nakhonsithammarat.go.th
1-8 ขั้นตอน การก่อสร้าง
ซ่อมปรับปรุง บำรุงรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพฝายชะลอน้ำ
8. การประยุกต์รูปแบบของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
การประยุกต์รูปแบบของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ที่ใช้ในการก่อสร้างในปัจจุบัน มีการประยุกต์ใช้รูปแบบให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
แหล่งวัสดุในการก่อสร้าง รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นและการบูรนาการร่วมมือร่วมใจของภาครัฐ
องค์กรต่างๆ ภาคเอกชน และประชาชน ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ สรุปได้พอสังเขป ดังนี้
1. ฝายชะลอน้ำวิธีประชารัฐ
ศูนย์บรรเทาภัยแล้ง โครงการก่อสร้างสำนักงาน
ชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 7 แบบ
- แบบที่ 1 ฝายชะลอน้ำวิธีประชารัฐ แบบพอเพียง
ฐานรากเป็นดิน
- แบบที่ 2 ฝายชะลอน้ำวิธีประชารัฐ แบบพอเพียง
ฐานรากเป็นหิน
- แบบที่ 3 ฝายชะลอน้ำวิธีประชารัฐ แบบพอเพียง ฐานรากวางบนดินและมีทางข้าม
- แบบที่ 4 ฝายชะลอน้ำวิธีประชารัฐ
แบบประหยัดและเร่งด่วนที่มีฐานรากเป็นดิน
- แบบที่ 5 ฝายชะลอน้ำวิธีประชารัฐ แบบยั่งยืน
ที่มีฐานรากวางบนดิน
- แบบที่ 6 ฝายชะลอน้ำวิธีประชารัฐ แบบพอเพียง ฐานรากเป็นหิน
- แบบที่ 7 ฝายชะลอน้ำวิธีประชารัฐ แบบยั่งยืน
ฐานรากเป็นดินและมีทางข้าม
รูปแบบและขั้นตอนการก่อสร้าง
สามารถประสานขอรับข้อมูลได้โดยตรงจากโครงการก่อสร้าง สำนักงานชลประทานที่ 6
จังหวัดขอนแก่น โทร. 043-221798
2. ฝายชะลอน้ำแกนดินเหนียว
เป็นฝายแกนดินเหนียวใต้พื้นทราย เป็นการพัฒนาแหล่งน้ำเชิงอนุรักษ์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอและกักเก็บน้ำให้ขังใต้พื้นทรายในลำห้วย
หรือคลองธรรมชาติ ที่มีชั้นทรายลึกและชั้นถัดไปเป็นดินดานหรือชั้นหินเหมาะกับสภาพภูมิประเทศที่มีปัญหาไม่มีน้ำไหลในช่วงฤดูแล้ง
รูปแบบ และวิธีการก่อสร้างสามารถประสานขอรับข้อมูลได้โดยตรงจาก โครงการชลประทานตาก
จังหวัดตาก
โทร.
055-893594
ภาพที่ 30 http://www.nakhonsithammarat.go.th
ภาพที่ 31 http://www.nakhonsithammarat.go.th
3. ฝายมีชีวิต ฝายมีชีวิตตำบลละอาย อ.ฉวาง
จ.นครศรีธรรมราช
ภาพที่ 32 http://www.nakhonsithammarat.go.th
ฝายมีชีวิตตำบลละอาย
เป็นฝายกึ่งถาวรที่ใช้ไม้ไผ่และกระสอบทรายมาใช้
โดยการนำไม้ไผ่มาปักลงพื้นลำห้วยเป็นแบบตารางหมากรุก
ผูกรัดยึดโยงให้มีความกว้างความยาวที่เหมาะสมในการบรรจุกระสอบทรายลงไปให้มีความสูงเท่าไม้ไผ่ที่ปักลงไปสำหรับด้านหน้าและด้านหลังฝายปักไม้ไผ่ลงลดหลั่นเป็นขั้นบันได
แล้วเรียกระสอบทรายระหว่างขั้นบันได ปลูกต้นไม้บริเวณหูช้าง เช่น ต้นไทร
เพื่อให้รากจากต้นไม้กลายเป็นโครงสร้างฝายในอนาคต
4. ฝายชะลอน้ำประยุกต์กึ่งถาวร .ฝายชะลอน้ำบ้านทุ่งศรี
อ.ร้องกวาง จ.แพร่
ภาพที่ 33 http://www.nakhonsithammarat.go.th/
ลงพื้นลำห้วยแนวขวางและขึงตะแกรงตาข่ายระหว่างเสาคอนกรีต
ลักษณะเป็นแบบฝายคอกหมู แล้วนำหินที่มีตามท้องลำห้วยหรือบริเวณใกล้เคียงมาเรียงใส่ให้มีความสูงเท่ากับเสาคอนกรีตจากนั้นค้ำยันด้วยหินด้านหน้าและด้านหลังฝายด้วยหินอีกครั้งเพื่อให้มีความมั่นคงมากขึ้น
.ฝายชะลอน้ำบ้านบึงหล่ม อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี
ภาพที่ 34 http://www.nakhonsithammarat.go.th/
ฝายชะลอน้ำบ้านบึงหล่ม
เป็นการประยุกต์โดยใช้อิฐบล็อกนำมาก่อเป็นเป็นกล่องแล้วน้ำดินมาใส่บดอัดให้แน่นเสร็จแล้วเททับด้วยคอนกรีต
สำหรับช่องกลางฝายนั้น
ทำเป็นช่องเปิดสามารถใส่แผ่นไม้เพื่อทดน้ำให้ไหลปริมาณมากน้อยตามต้องการฝายชะลอน้ำบ้านทรายขาว
อ.วังสะพุง จ.เลย
ภาพที่ 35 http://www.nakhonsithammarat.go.th/
ฝายชะลอน้ำบ้านทรายขาว
เป็นการประยุกต์ใช้ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้วน้ำมาเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ
โดยเติมดินลงในช่องว่างของยางรถยนต์แล้วใช้ท่อนไม้มาเสียบยึดลงเพื่อไม่ให้ยางรถยนต์เลื่อนไปตามน้ำ
เมื่อน้ำไหลผ่านตัวฝายแล้วกัดเซาะผิวหน้าดินที่อัดในล้อยาง
9. ผลลัพธ์ฝายชะลอน้ำ
ฝายชะลอน้ำ
ภายใต้กรอบคิดการแบ่งปันน้ำให้สรรพสิ่งไม่เพียงมีเป้าหมายเพื่อการใช้ประโยชน์สำหรับมนุษย์เท่านั้น
แต่ยังแบ่งปันน้ำให้กับป่าไม้ แบ่งปันน้ำให้กับน้ำใต้ดิน
แบ่งปันน้ำให้กับสรรพชีวิตบริเวณที่สร้างฝาย
และแบ่งปันน้ำสู่บริเวณกลางน้ำและปลายน้ำ
ภายใต้กรอบคิดเช่นว่านี้ช่วยให้สรรพชีวิตทั้งสังคมมนุษย์ สังคมสัตว์ สังคมพืช
และสังคมจุลินทรีย์ ต่างได้รับการแบ่งปันน้ำอย่างพอเหมาะพอประมาณการสร้างฝายภายใต้กรอบคิดใหม่นี้
จึงไม่ใช่เพื่อมุ่งกักเก็บน้ำไว้หลังฝายเหมือนการสร้างฝายทั่วไป
เพียงแต่เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ทำหน้าที่ขัดขวางการไหลของน้ำ
ทั้งนี้เพื่อชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง เพื่อให้สายน้ำได้แบ่งปันน้ำรวมทั้งทำหน้าที่ลำเลียงสรรพสิ่งจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำได้ตามที่ธรรมชาติได้ออกแบบมา
นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาแอ่งน้ำขนาดเล็กๆ ด้านหน้าฝาย
ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์ป่าได้ใช้ประโยชน์ดื่มกินในฤดูแล้งอีกด้วย
ผลลัพธ์ของการสร้างฝายชะลอน้ำไหล
พบว่ามีส่วนช่วยให้เกิดความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในลำห้วยมากกว่าไม่มีการสร้างฝาย
เพราะว่าลำห้วยเป็นแหล่งน้ำที่มีการเคลื่อนตัวของมวลน้ำอยู่ตลอดเวลา
แต่ด้วยแพลงก์ตอนพืชเป็นชีวิตที่อาศัยน้ำพยุงเพื่อลอยตัวอยู่ในน้ำ
แพลงก์ตอนพืชจำนวนมากจึงถูกกระแสน้ำพัดพาจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำอย่างต่อเนื่องตลอดไป
แต่เมื่อใดที่กระแสน้ำไหลริน ความเร็วของการไหลจะต่ำมากแพลงก์ตอนพืชจำนวนหนึ่งจะจมตัวลงสู่พื้นท้องลำห้วยสร้างที่ยึดเกาะ
(Stalk)
สำหรับเกาะติดกับตะกอนทรายของพื้นน้ำท้องลำห้วย หรือใช้หนาม (Spine)
เกาะเกี่ยวกันเพื่อเพิ่มน้ำหนักทิ้งตัวลงสู่พื้นท้องลำห้วย
ห้วงเวลานี้จึงเป็นห้วงเวลาของการทำหน้าที่สังเคราะห์แสงสร้างสารอินทรีย์
เพื่อการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนประชากรอย่างเร่งรีบ
ก่อนที่กระแสน้ำจะแปรเปลี่ยนเป็นไหลแรง
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรามักพบว่าบริเวณลำห้วยมีประชากรของแพลงก์ตอนพืชค่อนข้างน้อย
เพราะแพลงก์ตอนพืชจำนวนมากจะถูกกระแสน้ำพัดพา
เหลือเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถปรับตัวสร้างที่ยึดเกาะได้
ในการตรวจวัดน้ำทางชีวภาพ
นอกจากจะให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ
โดยใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำแล้วผู้ดำเนินการโครงการยังให้ความสำคัญกับ
การตรวจวัดความหลากหลายทางชีวภาพของสรรพชีวิตที่อาศัยอยู่ในลำห้วยทั้งสองอีกด้วยเนื่องจากสังคมชีวิตในแหล่งน้ำจะเกิดความยั่งยืนได้ก็ต่อเมื่อสังคมชีวิตนั้นๆ
ต้องมีความแข็งแรง และความแข็งแรงของสังคมชีวิตจะเกิดขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อมีความหลากหลายของสรรพชีวิตภายในสังคม เพราะหากสังคมชีวิตมีความหลากหลาย
ก็จะมีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมายช่วยกันทำหน้าที่ในการอยู่ร่วมกันเพื่อจะได้อยู่รอดกันทั้งระบบ
สังคมชีวิตแบบนี้จึงเกิดความซับซ้อนในการช่วยกันทำหน้าที่
แม้ว่าจะเกิดปัญหาวิกฤติอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมรุนแรงเพียงใดก็ตามทุกชีวิตก็จะร่วมด้วยช่วยกันทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง
เพื่อฝ่าวิกฤติไปด้วยกันให้ได้ ต่างกับสังคมชีวิตที่มีความหลากหลายน้อย
สังคมชีวิตแบบนี้จะเปราะบางจึงง่ายต่อการล่มสลาย
เมื่อประสบกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมการสร้างฝายชะลอน้ำไหล
นอกจากช่วยให้เกิดความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในลำห้วยแล้ว
ยังช่วยให้เกิดความหลากหลายของสัตว์น้ำจำพวกปลาอีกด้วย จากการสุ่มจับปลาในลำห้วย
พบปลา 2 ประเภท
คือปลาผิวน้ำและปลาพื้นท้องน้ำปลาที่อาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วและว่องไวมีลำตัวเพรียวแบน
ปลาพวกนี้ต้องการออกซิเจนมาก หากแหล่งน้ำมีปริมาณออกซิเจนลดต่ำลงจะเกิดปัญหา
ปลาผิวน้ำจะมีความหลากหลายมากกว่าปลาพื้นท้องน้ำ ตัวอย่างปลาพวกนี้ได้แก่
ปลาซิวควายแถบดำ(Rasbora
paviei) ปลาซิวใบไผ่ (Devario regina) ปลาไส้ตันตาแดง(Cyclocheilichthys
apogon) ปลาไส้ตันตาขาว (Cyclocheilichthys repasson) ปลาเสือข้างลาย (Systomus partipentazona) และปลาแก้มช้ำ
(Systomus orphoides) ส่วนปลาพื้นท้องน้ำเป็นปลาที่สามารถอยู่ในที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำค่อนข้างต่ำได้
เช่น ปลาแขยงหางช้ำ (Systomus orphoides) ส่วนปลาพื้นท้องน้ำเป็นปลาที่สามารถอยู่ในที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำค่อนข้างต่ำได้
เช่น ปลาแขยงหางจุด (Mystus castaneas)
การสร้างฝายชะลอน้ำช่วยให้เกิดแอ่งน้ำขนาดเล็กบริเวณหน้าฝาย
บริเวณแอ่งน้ำนี้ นอกจากมีน้ำตลอดทั้งปีให้สัตว์น้ำได้อยู่อาศัยแล้ว
ยังเป็นแหล่งสะสมเศษซากใบไม้
กิ่งไม้และผลไม้ที่เกิดจากการตัดแต่งตัวเองของพืชนานาชนิด
เศษซากดังกล่าวจึงกลายเป็นต้นทุนให้จุลินทรีย์โดยเฉพาะแบคทีเรียและเชื้อรา
ได้ใช้เป็นแหล่งอาหาร โดยเชื้อราจะหลั่งน้ำย่อยเซลลูเลสออกมาย่อยสลายเซลลูโลสที่เป็นโครงสร้างผนังเซลล์ให้เปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส
แล้วดูดซับน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์สำหรับใช้ในการเจริญเติบโตและแบ่งปันน้ำตาลส่วนเกินให้สรรพชีวิตอื่นหลังจากผนังเซลล์ถูกทำลายลงไปแล้วกลุ่มของแบคทีเรียก็จะเข้าทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ภายในเซลล์ต่อไป
แอ่งน้ำ บริเวณหน้าฝายจึงกลายเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์หลากชนิด
ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ภาพที่
36 www.google.co.th/search?q
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “โครงการฝายชะลอน้ำ” ผู้ศึกษาได้สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะดังนี้
1. ความเป็นมาของโครงการ
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
3. ขอบเขตของการศึกษา
4. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
5. วิธีดำเนินการศึกษา
6. สรุปผลการศึกษา
7. อภิปรายผลการศึกษา
8. ข้อเสนอแนะ
ความเป็นมาของโครงการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำหรือฝายชะลอน้ำ
เป็นแนวทางหรือวิธีหนึ่งในการช่วยสร้างความชุ่มชื้นเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ต้นน้ำลำธาร
คืนความอุดมสมบูรณ์ และทำให้เกิดความหลากหลายด้านชีวภาพแก่สังคมของพืชและสัตว์
ตลอดจนนำความชุ่มชื้นมาสู่แผ่นดิน ฝายชะลอน้ำ คือสิ่งขวางกั้นทางเดินของน้ำ
ใช้กับลำห้วย ลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ
หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงทำให้เกิดความชุ่มชื้น พืช สัตว์
สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และ
กักเก็บ กรอง ตะกอนไม่ให้ไหลลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง เป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
"...สำหรับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณสองข้างลำห้วย
จำเป็นต้องรักษาไว้ให้ดีเพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำ
และบริเวณที่น้ำซับก็ควรสร้างฝายขนาดเล็กกั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้นแม้จะมีจำนวนน้อยก็ตาม
สำหรับแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากจึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก..."
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2521 ณ
อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ในส่วนของรูปแบบและลักษณะฝายชะลอน้ำ
ได้มีพระราชดำรัสว่า
"...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด
โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น
แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็กเป็นระยะๆ
เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วนโดยน้ำที่เก็บกักไว้จะซึมเข้าไปในดิน
ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้างต่อไปจะสามารถปลูกพันธ์ุไม้ป้องกันไฟ
พันธ์ุไม้โตเร็วและพันธ์ุไม้ไม่ทิ้งใบเพื่อฟื้นฟูต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ..."
ทรงแยกประเภทของฝายชะลอน้ำเป็น
2 ประเภท ดังพระราชดำรัสคือ
"...ฝายชะลอน้ำมี 2 อย่าง
ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้นรักษาความชุ่มชื้นอีกอย่างสำหรับป้องกันมิให้ทรายลงในอ่างใหญ่..."
"...ควรสร้างฝายในต้นน้ำลำธารตามร่องน้ำเพื่อช่วยชะลอกระแสน้ำและเก็บกักน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้กับบริเวณต้นน้ำ..."
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2532 ณ ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง
จังหวัดเชียงใหม่
ฝายชะลอน้ำ
จัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นมาเพื่อปิดกั้นทางน้ำที่อาจเป็นร่องน้ำกัดเซาะลำห้วยลำธารขนาดเล็ก
บริเวณป่าต้นน้ำของลุ่มน้ำต่างๆ
โดยทำหน้าที่ควบคุมอัตราเร็วการไหลของน้ำให้ช้าลงในช่วงฤดูฝน ช่วยให้การกัดเซาะ
ชะล้างและพังทลายของดินสองฝั่งสายน้ำลดลง ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในฤดูแล้งกักเก็บตะกอนดินไม่ให้พัดพาสู่การตื้นเขินของแหล่งน้ำชั้นล่าง
นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมการเก็บกักอินทรียวัตถุไว้ในแหล่งน้ำให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น
รวมทั้งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดินของป่าต้นน้ำที่ทุกสายน้ำไหลผ่าน
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของโครงการฝายชะลอน้ำ
2. เพื่อศึกษาประโยชน์ของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
3. เพื่อศึกษาประเภทฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
4. เพื่อศึกษาการเลือกตำแหน่งที่ตั้งฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
5. เพื่อศึกษาการกำหนดรูปแบบฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
6. เพื่อศึกษาการก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริการก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
7. เพื่อศึกษาการซ่อมแซม ปรับปรุง
บำรุงรักษาฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
8. เพื่อศึกษาการประยุกต์รูปแบบของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
9. เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของฝายชะลอน้ำ
ขอบเขตของการศึกษา
1. ประวัติความเป็นมาของโครงการฝายชะลอน้ำ
2. ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
3. ประเภทฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
4. การเลือกตำแหน่งที่ตั้งฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
5. การกำหนดรูปแบบฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
6. การก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริการก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
7. การซ่อมแซม ปรับปรุง
บำรุงรักษาฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
8. การประยุกต์รูปแบบของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
9. เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของฝายชะลอน้ำ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่
1.
เอกสารตำราอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการฝายชะลอน้ำ
2.
ศึกษาจากเว็บไซต์ http://www.ppb.moi.go.th
วิธีดำเนินการศึกษา
1.
เลือกหัวข้อของการศึกษา
2.
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาคือ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560 พ.ศ. 2559 จำนวน 157 วัน
สรุปผลการศึกษา
การศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “โครงการฝายชะลอน้ำ” ผลการศึกษาปรากฏผลดังนี้
1. ฝายชะลอน้ำหรือฝายแม้ว คือ สิ่งก่อสร้างขวางหรือกั้นทางน้ำ
ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่าง
ซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
ปัจจุบันแรงผลักดันจากภาครัฐและเอกชนได้มีส่วนเกื้อหนุนในการสร้างฝายผ่านรูปแบบการสนับสนุนงบประมาณและมีส่วนร่วมดำเนินการก่อสร้างฝายโดยตรง
รวมถึงการดำเนินโครงการร่วมกันของหลายหน่วยงาน นอกจากนี้
ยังสร้างการตระหนักถึงความสำคัญของฝายให้แก่ประชาชน อาทิ สร้างความชุ่มชื้น
คืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผืนป่า
ลดความรุนแรงของกระแสน้ำหลากเป็นแนวป้องกันไฟป่าและสร้างความยั่งยืนให้แก่วิถีชีวิตโดยรอบ
ทั้งคน สัตว์ และทรัพยากรธรรมชาติ
2. ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน
และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลาธาร ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้นความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น และแผ่ขยายกระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย
นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินบางส่วนด้วย ช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ
ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดีเป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง
คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลงช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และการทดแทนของสังคมพืชให้แก่พื้นที่โดยรอบทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์และสัตว์ป่าต่างๆ
ตลอดจนนาไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วยช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่าในฤดูแล้ง
3. ประเภทฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
แบ่งได้ 3 ประเภท (1) เป็นฝายชะลอน้ำฯ ชั่วคราว สามารถดักตะกอนชะลอการไหลของน้ำ และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้เป็นอย่างดี
วิธีการนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลย (2) เป็นฝายชะลอน้ำฯ แบบกึ่งถาวร สามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน
(3) เป็นฝายชะลอน้ำฯ แบบถาวรสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี
4. ตำแหน่งที่ตั้งฝาย
ควรเป็นร่องลำห้วย ที่มีพื้นที่เหนือน้ำ สภาพตลิ่ง ณ ตำแหน่งที่ตั้งฝาย
ด้านเหนือน้ำและด้านท้ายน้ำจะต้องมีความสูงพอที่จะไม่ทำให้น้ำล้นข้าม ในร่องลำห้วยที่มีความลาดชันสูง
สามารถกัก กรองน้ำ ดักตะกอนที่จะไหลลงสู่ลำห้วยสาขาและลำห้วยหลักอย่างเพียงพอ
สำรวจสภาพพื้นที่ วัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้าง สภาพลำน้ำ ควรมีข้อมูล ระดับน้ำ
ปริมาณฝนในแต่ละฤดูกาล
ควรเลือกตำแหน่งที่ตั้งที่มีความเหมาะสมควบคู่กับประโยชน์ที่จะได้รับสูงสุด
5. การกำหนดรูปแบบประเภทชั่วคราว ประกอบด้วย ฝายไม้
ฝายหิน ฝายดิน ประเภทกึ่งถาวร ฝายไม้แกนหินยาแนวหรือแกนดินเหนียว ฝายกล่องลวดตาข่ายบรรจุหิน
ฝายหินก่อหรือหินทิ้ง ประเภทถาวร ฝายหินเรียงยาแนว ฝายคอนกรีต ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก
6. การก่อสร้างฝายชะลอน้ำ ควรสำรวจสภาพภูมิประเทศ หรือร่องลำน้ำที่เหมาะสมในการก่อสร้างกำหนดประเภทและเลือกรูปแบบ
สำหรับการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ สเก็ตซ์รูปแบบ กำหนดขนาด สัดส่วน และกำหนดวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างวางผังตำแหน่ง
และการก่อสร้างฝายชะลอน้ำฯขั้นตอนการก่อสร้างฐานฝายและตัวฝาย เป็นไปตามรูปแบบ ขนาด
วัสดุ ตามที่กำหนดไว้
7. ฤดูน้ำหลากต้องเฝ้าระวังเศษกิ่งไม้
ตรวจสอบตัวฝายฯ ทุกๆ หลังฤดูน้ำหลาก หากมีความชำรุดเสียหาย
ในกรณีที่เป็นฝายประเภทกึ่งถาวร หรือฝายถาวร ต้องทำการซ่อมแซม ปรับปรุง
โดยใช้วัสดุที่เหมาะสมให้คงสภาพเดิม ตรวจสอบการตะกอนด้านหน้าฝายหากมีปริมาณตะกอนมาก
อาจขุดลอกออกบางส่วนเพื่อไม่ให้เกิดการตื้นเขิน
ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพมีคุณภาพสะอาดไม่เน่าเสีย
และต้องมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการใช้ในภารกิจต่างๆในแต่ละช่วงอย่างสมบูรณ์สำหรับฝายชะลอน้ำชั่วคราวที่มีการดูแลเป็นอย่างดีก็จะสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับป่าต้นน้ำ
ควรมีการปลูกต้นไม้เพิ่มเติมโดยรอบบริเวณที่สร้างฝายเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของป่าต้นน้ำลำธาร
8. การประยุกต์ฝายชะลอน้ำได้แก่ ฝายชะลอน้ำวิธีประชารัฐ
ศูนย์บรรเทาภัยแล้ง โครงการก่อสร้างสำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 7 แบบ ฝายชะลอน้ำแกนดินเหนียว ฝายมีชีวิต และฝายชะลอน้ำประยุกต์กึ่งถาวร
9. ผลลัพธ์ของการสร้างฝายชะลอน้ำไหล
พบว่ามีส่วนช่วยให้เกิดความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในลำห้วยมากกว่าไม่มีการสร้างฝาย
นอกจากจะให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ
โดยใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำแล้วผู้ดำเนินการโครงการยังให้ความสำคัญกับ
การตรวจวัดความหลากหลายทางชีวภาพของสรรพชีวิตที่อาศัยอยู่ในลำห้วยทั้งสองอีกด้วยเนื่องจากสังคมชีวิตในแหล่งน้ำจะเกิดความยั่งยืนได้ก็ต่อเมื่อสังคมชีวิตนั้นๆ
ต้องมีความแข็งแรง และความแข็งแรงของสังคมชีวิตจะเกิดขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อมีความหลากหลายของสรรพชีวิตภายในสังคม เพราะหากสังคมชีวิตมีความหลากหลาย
ก็จะมีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมายช่วยกันทำหน้าที่ในการอยู่ร่วมกันเพื่อจะได้อยู่รอดกันทั้งระบบ
นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาแอ่งน้ำขนาดเล็กๆ ด้านหน้าฝาย
ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์ป่าได้ใช้ประโยชน์ดื่มกินในฤดูแล้งอีกด้วย
อภิปรายผลการศึกษา
การศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
“โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา” อภิปรายผลได้ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาของโครงการฝายชะลอน้ำ ฝายชะลอน้ำ คือ สิ่งก่อสร้างขวางหรือกั้นทางน้ำ
สามารถกักตะกอนอยู่ได้และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่าง
2. ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลาธาร
ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
3. ประเภทฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ประเภท (1) เป็นฝายชะลอน้ำฯ ชั่วคราว
สามารถดักตะกอนชะลอการไหลของน้ำ และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้เป็นอย่างดี
วิธีการนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลย (2) เป็นฝายชะลอน้ำฯ แบบกึ่งถาวร สามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน
(3) เป็นฝายชะลอน้ำฯ
แบบถาวรสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี
4. การเลือกตำแหน่งที่ตั้งฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ตำแหน่งที่ตั้งฝาย ควรเป็นร่องลำห้วย ที่มีพื้นที่เหนือน้ำ สภาพตลิ่ง
ณ ตำแหน่งที่ตั้งฝาย
ด้านเหนือน้ำและด้านท้ายน้ำจะต้องมีความสูงพอที่จะไม่ทำให้น้ำล้นข้าม
5. การกำหนดรูปแบบฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ฝายไม้ ฝายหิน ฝายดิน ฝายไม้แกนหินยาแนวหรือแกนดินเหนียว
ฝายกล่องลวดตาข่ายบรรจุหิน ฝายหินก่อหรือหินทิ้ง ฝายหินเรียงยาแนว ฝายคอนกรีต
ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำได้จริง
6. การก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริการก่อสร้างฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ควรสำรวจสภาพภูมิประเทศ หรือร่องลำน้ำที่เหมาะสมในการก่อสร้างกำหนดประเภทและเลือกรูปแบบ
สำหรับการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ
7. การซ่อมแซม ปรับปรุง
บำรุงรักษาฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ผลวิจัยพบว่า
ต้องเฝ้าระวังเศษกิ่งไม้ ตรวจสอบตัวฝายฯ ทุกๆ หลังฤดูน้ำหลาก ควรมีการปลูกต้นไม้เพิ่มเติมโดยรอบบริเวณที่สร้างฝายเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของป่าต้นน้ำลำธาร
8. การประยุกต์รูปแบบของฝายชะลอน้ำพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำ
เพิ่มความหลากหลายในระบบนิเวศน์ สารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
9. ผลลัพธ์ของฝายชะลอน้ำ มีส่วนช่วยให้เกิดความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในลำห้วยมากกว่าไม่มีการสร้างฝาย
ข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษาการศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการฝายชะลอน้ำ ก่อให้เกิดประโยชน์และอาจเป็นแนวทางในการค้นคว้าต่อไป
ผู้วิจัยศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการศึกษาไปใช้
1.1 สามารถความรู้การสร้างฝายไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
1.2 เป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์
1.3 สามารถเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำไว้บริโภค
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในครั้งต่อไป
2.1 ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างฝายชะลอน้ำ
2.2 การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำให้มากขึ้น
บรรณานุกรม
Check
Dam. (2556). โครงการฝายชะลอน้ำ. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 21
พฤศจิกายน 2559, จากเว็บไซต์ https://nesyaahoo.wordpress.com
Google
Sites. (2556). โครงการฝายชะลอน้ำ. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 14
พฤศจิกายน 2559, จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/king9ofthailand/khorngkar-fay-chalx-na
GotoKnow.
(2559). แนวพระราชดำริโครงการฝายชะลอน้ำ. (ออนไลน์)
สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559, จากเว็บไซต์ https://www.gotoknow.org/posts/620865
Sciphotha.(2556). โครงการฝายชะลอน้ำหรือฝายแม้ว. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 19
ธันวาคม 2559, จากเว็บไซต์http://www.sciphotha.com/wp/?p=3380
SlideShare.
(2559). โครงการฝายชะลอน้ำ ตามพระราชดำรัส. (ออนไลน์)
สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2559, จากเว็บไซต์
http://www.slideshare.net/Luksika/ss-15616116
กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2558). ฝายแม้ว.
(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2559, จากเว็บไซต์ http://www.dnp.go.th/watershed/checkdam_site/page1.htm
เรารักพระเจ้าอยู่หัว.
(2557). โครงการฝายชะลอน้ำ. (ออนไลน์)
สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2559, จากเว็บไซต์ http://www.xn--12co9drbac8a9as5aiidh8isei1npa.com/content/index.php?page=content&type=view&cat=18&id=297
วิกิพีเดีย
(2556). ฝายแม้ว. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559,
จากเว็บไซต์ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A7
สภ.เมืองลำปาง.
(2554). โครงการสร้างฝายแม้วเฉลิมพระเกียรติฯ. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2559, จากเว็บไซต์
http://www.muanglampangpolice.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538944004&Ntype=5
เป็นข้อมูลที่ดีมากค่ะ
ตอบลบสวัสดีค่ะ หนูสนใจในข้อมูลมากๆเลยค่ะ อยากจะเอาไปเขียนรายงาน แต่หนูไม่รู้ว่าจะอ้างอิงชื่อใคร หนูอยากทราบชื่อเพื่อไปใช้ในรายงาน ถ้าพี่เห็นข้อความหนูช่วยส่งชื่อหรือช่องทางการติดต่อให้หนูหน่อยได้มั้ยคะ ข้อมูลพี่ดีมากๆค่ะ
ตอบลบ